ปรากฏการณ์ติดอยู่ปลายลิ้น (tip-of-the-tongue, TOT) หมายถึง การไม่สามารถดึงเอาคำๆ หนึ่งออกมาจากความจำได้โดยเชื่อว่าคำๆ นั้นอยู่ตรงนั้น มันเป็นภาวะทางจิตวิทยาที่สร้างปฏิกริยาทางร่างกายที่เด่นชัดครับ ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้ทั่วไป มีรายงานว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นในภาษาพื้นเมืองต่างๆ เช่นฝรั่งเศส โปรตุเกส โรมาเนีย ไทย และภาษาอื่นๆ อีกมากมาย อีกทั้งมันยังขึ้นอยู่กับอายุอีกด้วย มีรายงานว่าคนแก่มักจะเกิดปรากฏการณ์นี้บ่อยกว่านักเรียน นอกจากนี้ปรากฏการณ์ดังกล่าวมักจะเกิดกับคำนามโดยเฉพาะวิสามัญนาม ดังนั้น คนที่เกิดปรากฏการณ์นี้มักจะบอกอักษรตัวแรกของคำๆ นั้นได้และสามารถนึกคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกันออก แต่ก็มีคนเพียง 50% เท่านั้นที่สามารถพูดคำดังกล่าวออกมาได้ครับ เนื่องจากคนที่เกิดปรากฏการณ์นี้มั่นใจว่าคำๆ นั้นอยู่ในความจำระยะยาวและสามารถดึงความจำนั้นออกมาได้เพียง 50% บางคนอาจะตั้งข้อสังเกตว่าปรากฏการณ์นี้อาจเป็นผลมาจากการบล็อกกระบวนการดึงความจำที่จำเพาะก็ได้ และที่น่าสนใจก็คือ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะไม่สามารถนึกคำศัพท์ที่ใกล้เคียงออกมาได้เลย โรคอัลไซมเมอร์และโรคความจำเสื่อม (dementia) อาจเกี่ยวข้องกับการสูญเสียการดึงความจำในพื้นที่สมองหนึ่งๆ ก็ได้ จากการศึกษาโดยใช้เครื่องถ่ายภาพแม่เหล็กกำทอน (fMRI) ของแมริลและคณะในปี 2001 พบว่า การทำงานของพื้นที่สมองส่วน anterior cingulate cortex และ prefrontal cortex ในคนที่เกิดปรากฏการณ์นี้จะสูงกว่าคนที่จำคำศัพท์นั้นได้ นี่บ่งชี้ว่ากลไกหนึ่งหรือความบกพร่องของพื้นที่สมองหนึ่งอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ได้ครับ แต่นักวิทย์ยังไม่ได้เขียนคำอธิบายที่แน่นอนลงไป
ที่มา http://variety.teenee.com/science/13423.html